สโมสรฟุตบอลแต่ละทีม มีบุคลากรมากมาย ที่ทำงานให้กับทีมนั้นๆ ตั้งแต่นักฟุตบอล, สต๊าฟฟ์โค้ช, เฮ้ดโค้ช และทีมงานทุกภาคส่วนของสโมสร โดยทุกตำแหน่งของสโมสร ก็เป็นแรงขับเคลื่อน และทำหน้าที่แต่ละตำแหน่งกันไป เช่นเดียวกับ ผอ.กีฬา หรือ ผู้อำนวยการกีฬา

โดยวันนี้ทีมงาน วิเคราะห์บอล UFA จะพูดถึง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการกีฬา ว่ามีความสำคัญอย่างไร ต่อสโมสรฟุตบอลกันบ้าง

ผอ.กีฬา หรือ ผู้อำนวยการกีฬา มีไว้ทำไม

ตำแหน่งผู้อำนวยการกีฬา มีมาตั้งนานแล้ว โดยลีกอื่นๆ นิยมใช้ เว้นแต่ลีกอังกฤษ ที่ไม่ค่อยนิยมใช้เท่าไหร่ เพราะยุกก่อน ยังใช้ระบบผู้จัดการทีม ที่ส่วนมากจะได้สิทธิ์ต่างๆ ในการจัดการทีม

เรียกได้ว่า นอกจากจะคุมทีม วางแทคติกส์และคุมเกมข้างสนามแล้ว ผู้จัดการทีมยังจัดการหลายเรื่อง ทั้งการซื้อนักเตะ การเดินทางไปชมการแข่งขันคู่อื่น หรือบางทีม ผู้จัดการทีม มีส่วนในการวางแผนทำสนามใหม่ด้วยซ้ำ

ซึ่งดูแล้ว ตำแหน่งผู้จัดการทีม ของสโมสรฟุตบอล ดูจะมีบทบาท มีหน้าที่ ที่เยอะเกินไป ดังนั้น ตำแหน่งผู้จัดการทีมในปัจจุบัน ไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว โดยส่วนมากจะเป็นตำแหน่งเฮ้ดโค้ช คือคุมทีม วางแทคติกส์ พาทีมฝึกซ้อม และคุมทีมข้างสนาม คอยสั่งการลูกทีมนั่นเอง

ส่วนเรื่องอื่น ก็เป็นหน้าที่ของตำแหน่งอื่น เป็นคนจัดการ อย่างเช่นตำแหน่ง ผู้อำนวยการกีฬา ที่เราพูดถึงกันในบทความนี้ ก็มีหน้าที่หลากหลายแตกต่างกันไป แล้วแต่ละสโมสรจะจัดการ และมอบหน้าที่ให้ทำอย่างไรบ้าง

โดยส่วนใหญ่เลยนั้น ตำแหน่งดังกล่าว จะทำงานร่วมกับ เฮ้ดโค้ช และ สต๊าฟฟ์โค้ช แต่ตนเองจะนั่งโต๊ะ ทำหน้าที่วิเคราะห์ ประเมินผลการทำงานของทีม รวมถึงได้อำนาจในการซื้อ-ขายนักเตะอีกด้วย

ซึ่งการซื้อ-ขายนักเตะ ผู้อำนวยการกีฬา ก็จะต้องมีการพูดคุยกับเฮ้ดโค้ช และต่อด้วยการพูดคุย กับบอร์ดบริหารอีกที แต่ก็มีบางครั้งที่ ผอ.กีฬากับเฮ้ดโค้ช ไม่ค่อยกินเส้นกันเท่าไหร่ นักเตะที่เฮ้ดโค้ช ขอมา แต่ ผู้อำนวยการกีฬา ไปคว้านักเตะมาอีกราย แบบนี้ก็มีให้เห็นเป็นประจำ

หรือนักเตะคนไหน ที่ เฮ้ดโค้ช ไม่อยากขาย แต่ผู้อำนวยการกีฬา อนุมัติการขาย ก็มีให้เห็นประจำ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว ควรจะปรึกษาหารือกันให้ได้ ต้องไปในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ ผอ.กีฬาอาจมีหน้าที่ ในการพูดคุยเจรจาเบื้องต้นกับสโมสรอื่น ในการซื้อ-ขาย นักเตะด้วยตัวเองอีกด้วย ก่อนที่จะเป็นหน้าที่ของฝ่ายอื่นๆ ต่อไป

หลังจากทำการเจรจาพูดคุยกับสโมสรคู่ค้าสำเร็จแล้ว บางที อาจจะเป็นการดูฟอร์ม ดูข้อมูลนักเตะ เพื่อทำการวิเคราะห์ หานักเตะฝีเท้าดีมาเสริมทัพ ก็เป็นหน้าที่ของ ผอ.กีฬา เช่นกัน

โดยตำแหน่งนี้หลักๆ แล้ว ก็เป็นการประเมิน วางแผนร่วมกับทีมงานสต๊าฟฟ์โค้ช เฮ้ดโค้ช ทั้งแทคติกส์การเล่น แบบไหนนจะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เฮ้ดโค้ช และ สต๊าฟฟ์โค้ช มีฝีมือมากพอไหม ควรเปลี่ยนไหม นักเตะรายไหน การซ้อมเป็นอย่างไร เล่นตามปรัชญา ของกุนซือได้หรือไม่ นักเตะรายไหนสัญญาใกล้หมด จะทำการต่อสัญญาไหม

ตรงนี้ก็เป็นหน้าที่ ที่ของผอ.กีฬา ต้องจัดการ โดยทำงานควบคู่กับทีมงานของสโมสร และสุดท้ายไปเสนอกับ บอร์ดบริหารของทีม ต่อไป โดย ผอ.กีฬา ถือว่าเป็นเบื้องหลังของสโมสรเช่นกัน

หากว่าทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานร่วมกับคนอื่นได้ดี มีแผนการที่ดีและการทำงานที่ดี ที่สำคัญเลยต้องมีความรู้เรื่องฟุตบอลระดับสูง ไม่อย่างนั้นแล้ว พวกเขาจะไม่มีความเข้าใจอะไรเลย กลายเป็นเน้นไปเรื่องธุรกิจเรื่องเดียว

ซึ่งมันส่งผลร้ายต่อทีมอย่างแน่นอน เพราะหาแต่กำไร ไม่สนการพัฒนาระบบโครงสร้าง ของแทคติกส์ฟุตบอล การเล่นฟุตบอล เพราะตำแหน่ง ผอ.กีฬา ก็ต้องทำงานกับ เฮ้ดโค้ช โดยตรง ต้องมีการหารือแนะนำและปรับปรุง ให้คุณภาพการเล่นของทีม มีการพัฒนาต่อยอดที่ดีขึ้น

ดังนั้นจะเห็นว่า ผอ.กีฬาเป็นนักเตะระดับตำนาน ซึ่งแต่ละคนก็มีหน้าที่ แล้วแต่ที่สโมสรจะให้สิทธิ์ และแน่นอนว่าตำแหน่ง ผู้อำนวยการกีฬา มีความสำคัญ และความจำเป็นต้องมี ในสโมสรฟุตบอลยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการลดภาระ ของผู้จัดการทีม ที่ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมใช้กันแล้ว

โดย ผู้อำนวยการกีฬา ทีมไหนเป็นงาน ทำงานได้มีประสิทธิภาพ เห็นได้ชัดเลยว่าทีมนั้นก็มีการจัดการบริหารที่ดี ไม่มีข่าวเกาเหลากันในทีมให้ชวนหัวและเดินหน้าทำงานอย่างมีระบบ

แต่ถ้าหากว่า ผู้อำนวยการกีฬา ทีมไหนทำงานไม่ได้เรื่อง มันก็บ่งบอกให้เห็นว่า ระบบของทีมนั้น มันย่ำแย่เพียงใด การจัดการภายนอกสนามยังแย่ แล้วในสนามมันจะไปเหลืออะไร

ตัวอย่างชัดเจนตอนนี้ ก็มีให้เห็นกันอยู่ แถมเป็นทีมดังเสียด้วย ลองดูว่าพวกเขาเสียหายขนาดไหน เดินผิดก้าวเดียวชีวิตเปลี่ยน แต่บางทีก็เดินผิดซ้ำๆ อยู่อย่างนั้น ซึ่งก็ต้องยอมรับสภาพกันไป

Posted in บทความฟุตบอล