Tag: โกลเดนโกล
- 0
โกลเดนโกล คือกฏที่เคยถูกใช้เมื่อหลายปีก่อน กฏนี้มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยอย่างมากมาย ทั้งนี้ทั้งนั้นกฏนี้ก็เคยสร้างความคลาสสิคให้กับวงการฟุตบอลในช่วงนึง กฏโกลเดนโกล มีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไมถึงเลิกใช้ไปแล้ว วันนี้ทีมงาน วิเคราะห์บอล UFA จะอธิบายให้ฟังกันครับ
โกลเดนโกล กฎสุดมันที่หายไป
การใช้กฏโกลเดนโกล ความจริงกฏนี้เกิดขึ้นในปี ค.ส. 1867 ในเมืองเชฟฟิลด์ ประเทศอังกฤษ ประเทศที่เป็นจุดกำเนิดฟุตบอล รายการยูแดน คัพ เป็นการพบกันระหว่าง นอร์โฟ๊ค และ บูมฮอลล์ เกมเสมอกันที่ 0-0 ซึ่งเมื่อครบเวลา 90 นาที หากทีมไหนทำประตูได้ก็เป็นฝ่ายคว้าชัยชนะไปได้เลย
ซึ่ง นอร์โฟ๊ค สามารถทำประตูได้สำเร็จ เพียงแต่ตอนนั้น ยังไม่ได้ใช้ชื่อเรียกว่า โกลเด้นโกล เท่านั้นเอง ซึ่งกฏ โกลเด้นโกล อธิบายง่ายๆ กฏนี้นำมาใช้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ หากทีมไหนทำประตูได้ก่อน ทีมนั้นก็จะเป็นผู้ชนะไปโดยทันที หลังจากปี 1867 ก็ไม่มีได้มีการกฏนี้เท่าไหร่นัก
จนในที่สุด สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือฟีฟ่า ได้คิดค้นวิธีแก้ปัญหา ทำอย่างไรให้ฟุตบอลสนุกมากขึ้น ไม่เน้นผลการแข่งขัน เน้นเกมรับมากจนเกินไป ต้องเข้าใจก่อนว่าสมัยก่อน ทีมเน้นการเล่นในระบบตั้งรับ คือรับจริงๆ รับแบบไม่เอาอะไรเลย จึงทำให้เกมฟุตบอลขาดสีสันและไม่สนุกเร้าใจ
ท้ายที่สุดจึงได้คิด กฏ โกลเดนโกล ได้สำเร็จ เพียงแค่มันเป็นกฎที่มีเงื่อนไขไม่ซับซ้อน นั่นก็คือหากเกมเสมอกันใน 90 นาที จะตัดสินด้วยการต่อเวลาพิเศษออกไป 30 นาที และภายใน 30 นาทีนั้น ทีมไหนยิงประตูได้ก่อน ทีมนั้นจะกลายเป็นผู้ชนะทันที
โดยฟีฟ่า นำมาทดลองใช้กับรายการ ฟุตบอลเยาวชนโลกปี 1993 ที่ประเทศออสเตรเลีย โดยกฏนี้ต้องการให้มีการเล่นเกมรุกให้สนุกเร้าใจมากขึ้น ขอเพียงแค่ประตูเดียวก็เป็นผู้ชนะได้แล้ว ในช่วงต่อเวลาพิเศษ แต่สำหรับการใช้กฏนี้ในครั้งแรก กลับไม่ค่อยได้รับความสนใจมากเท่าไหร่
เพราะทัวร์นาเม้นต์ฟุตบอลเยาวชนโลก ปี 1993 มีโอกาสใช้กฏนี้เพียงแค่ครั้งเดียวคือเกมที่ ออสเตรเลีย ชนะ อุรุกวัย ในรอบ 8 ทีมสุดท้าย หลังจากประเดิมใช้ โกลเด้นโกล ในปี 1993 กฏนี้ก็ถูกนำมาใช้แพร่หลายมากยิ่งขึ้นในการแข่งขันฟุตบอลทัวร์นาเม้นต่างๆ รวมถึงประเทศอังกฤษก็ยังใช้ในรายการลีกคัพ อีกด้วย
ต่อมา กฏ โกลเดนโกล เริ่มคุ้นหูแฟนบอล เมื่อได้ถูกนำมาใช้ในทัวร์นาเม้นต์สำคัญ นั่นคือรายการ โกลเดนโกล ที่ประเทศอังกฤษรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพ โดยเกมที่สำคัญและได้ใช้กฏโกลเด้นโกล คือเกมที่ เยอรมัน เฉือนชนะ เช็ก ในช่วงต่อเวลาพิเศษ คว้าแชมป์ยูโรไปครอง
หลังจากนั้นในศึก ฟุตบอลโลก 1998 ฝรั่งเศส เจ้าภาพ สามารถคว้าแชมป์โลกได้สำเร็จและเกมที่ ฝรั่งเศส เจอกับ ปารากวัย ในรอบ 16 ทีมสุดท้าย ทัพตราไก่ก็สามารถทำประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษ ใช้กฏโกลเดนโกล เอาชนะได้อีกด้วย รวมถึง ฟุตบอลยูโร 2000 ก็ยังมีการใช้กฏโกลเด้นโกลอีกต่างหาก
ซึ่งฝรั่งเศส ก็ทำให้กฏนี้เป็นที่รู้จัก หลังจากเฉือนชนะ โปรตุเกส 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษของรอบรองชนะเลิศและนัดชิงชนะเลิศที่ฝรั่งเศสเฉือนชนะ อิตาลี ก็เป็นการยิงประตูในช่วงต่อเวลาพิเศษกับกฏโกลเดนโกล นั่นเอง ทำให้กฏนี้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
ในส่วนของทวีปเอเชีย โกลเดนโกล ก็ทำให้ ญี่ปุ่น สามารถเข้าไปเล่นศึกฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายได้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ หลังชนะ อิหร่าน ในช่วงต่อเวลาพิเศษไปได้ ส่วนของ ทีมชาติไทย ที่น่าจดจำครั้งนึงในประวัติศาสตร์ คือเกมที่ ไทย เฉือนชนะ เกาหลีใต้ 2-1 ในศึก เอเชี่ยนเกมส์ ด้วยกฏโกลเด้นโกล แม้ทีมชาติไทย จะเหลือผู้เล่นเพียงแค่ 10 คนก็ตาม แต่แค่ประตูเดียวก็เพียงพอแล้วสำหรับกฏ โกลเด้นโกล
จากนั้นกฏนี้ยังมาใช้กับรายการระดับสโมสร โดย ลิเวอร์พูล คว้าแชมป์ ยูฟ่า คัพ หรือ ยูฟ่า ยูโรป้า ลีก ในปัจจุบัน หลังจากเอาชนะ อลาเบส ไปได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษ เมื่อปี 2001 สุดท้ายในศึก ฟุตบอลโลก 2002 ที่เกาหลีใต้และญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ เป็นรายการสุดท้ายที่ได้ใช้กฏโกลเดนโกล
เนื่องจากกฏนี้โดนตำหนิและมีกระแสโจมตีอยู่บ่อยครั้ง หนักที่สุดคือแม้ว่าจะใช้เพื่อความสนุกและสนับสนุนให้ทุกทีมเล่นเกมรุกมากขึ้น ทว่าในทางกลับกันนั้น มีความเสี่ยงที่จะเสียประตูหากเจอเกมสวนกลับนั่นเอง เพราะถ้าเสียประตูก็แปลว่าแพ้เลยทันที ไม่มีโอกาสให้แก่ตัว ซึ่งดูโหดร้ายพอสมควร
นั่นทำให้กฏโกลเด้นโกล ทำให้ฟุตบอลกลายเป็นว่าน่าเบื่อไปในทันที กลายเป็นว่าหลากหลายทีมเน้นเล่นเกมรับแบบรัดกุมอย่างมากและเน้นผลการแข่งขันรวมถึงยื้อไปให้ถึงช่วงต่อเวลาพิเศษ เพราะจะได้มีลุ้นทำประตูในกฏโกลเดนโกลนั่นเอง สุดดท้ายแล้ว ยูฟ่าก็ได้ยกเลิกกฏนี้ไป แม้จะมีการเปลี่ยนมาใช้กฏ ซิลเวอร์โกล
ซึ่งระบุไว้ว่า หากในช่วงต่อเวลาพิเศษ ฝ่ายไหนทำประตูได้ ส่วนฝ่ายเสียประตู ถ้าไม่สามารถทำประตูคืนได้ในช่วงต่อเวลาพิเศษครึ่งละ 15 นาที จะแพ้ทันที แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าไหร่ ทั้งกฏโกลเดนโกลนี้ เลยกลายเป็นอดีตและเป็นครั้งหนึ่งของประวัติศาสตร์ในโลกของฟุตบอล