เจ้าของทีม มีส่วนต่อความสำเร็จของทีมหรือไม่

ความสำเร็จของทีมฟุตบอล มีองค์ประกอบหลายอย่าง โดยที่สำคัญที่สุด ต้องเริ่มมาจากนโยบายของสโมสรและการบริหารจัดการผลงานทั้งในสนามและนอกสนาม ส่งต่อไปยัง สต๊าฟโค้ช บุคคลากรของสโมสร และ ตัวนักเตะ ซึ่งจากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาในวงการฟุตบอล ทุกองค์ประกอบของสโมสรที่เป็นแชมป์ จะขาดสิ่งใดไปไม่ได้เลยแม้แต่อย่างเดียว แล้วอย่าง เจ้าของทีม หรือประธานสโมสร จะมีส่วนต่อความสำเร็จของทีมหรือไม่ วิเคราะห์บอล UFA มีคำตอบให้คุณแล้ว

เจ้าของทีม มีส่วนต่อความสำเร็จของทีมหรือไม่

ในยุคปัจจุบัน ที่วงการฟุตบอล ต้องขับเคลื่อนด้วยแรงเงินจำนวนมหาศาล ที่หลั่งไหลเข้ามาเป็นงบประมาณในการบริหารจัดการสโมสร ทั้งในเรื่องของโครงสร้างการเงิน การจัดการหลายต่อหลายอย่าง

ตั้งแต่การจ้างบุคลากรของสโมสร การปรับปรุงสนาม ปรับปรุงด้านอื่นๆ จนกระทั่ง งบเสริมทัพนักเตะ บอร์ดบริหารและทีมบริหาร มีการทำงานร่วมกันอย่างหนักหน่วง ในเรื่องการจัดการเรื่องภายนอกสนามให้เบ็ดเสร็จเรียบร้อย

จนมาถึง การพูดถึงกับทีมงานสต๊าฟโค้ช ว่าจะมีแผนในฤดูกาลใหม่อย่างไร จะเสริมผู้เล่นตรงไหน การต่อสัญญาของนักเตะ และ ดูเพดานค่าเหนื่อย การปล่อยผู้เล่นในรูปแบบยืมตัวหรือขายขาย การเสริมตัวผู้เล่นใหม่เข้ามาสู่ทีม ทิศทางของฤดูกาลนี้จะเป็นอย่างไรบ้าง

นี่คือแผนหลักของการเตรียมทีมที่จะเข้าสู่ฤดูกาลใหม่ ซึ่งทุกฝ่าย ทุกหน่วยงาน จะต้องทำงานไปในทิศทางเดียวกัน แต่ผลสุดท้ายแล้ว ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม แผนงานทุกอย่างที่เตรียมมา หรือพัฒนาแก้ไข ในระยะสั้น ระยะยาว หรือ แบบเร่งด่วน ก็ต้องผ่านทาง เจ้าของทีม หรือ ประธานสโมสร ที่จะเป็นฝ่ายอนุมัติทั้งหมด

เพราะฟุตบอล ไม่ใช่แค่เรื่องในสนามเพียงเท่านั้น หากการจัดการที่ไม่ดี หรือ ช้าเกินไป อาจทำให้ผลงานของทีมทรุดตัวลงและแย่เอาได้ ดังนั้น เจ้าของทีม ไม่ว่าจะสโมสรไหนก็ตาม ถือว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของทีม

หรือถ้าจะเอาให้เห็นภาพ ทางทีมงานขอยกตัวอย่าง ลีกขวัญใจมหาชน พรีเมียร์ลีก อังกฤษ เรามีตัวอย่าง ทีมที่ประสบความสำเร็จ กับ ทีมที่ไม่ประสบความสำเร็จ ให้เห็นภาพกันไปเลย เริ่มจาก ทีมที่ประสบความสำเร็จ เบอร์แรกที่ไม่พูดถึงไม่ได้ คือ

เจ้าของสโมสรเชลซี โรมัน อับราโมวิช หรือ เสี่ยหมี ที่ชาวไทยเรียกชื่อกัน เพราะนับตั้งแต่ที่พี่แกเข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรเชลซี จนถึงปัจจุบัน สโมสรแห่งนี้ กลายเป็นสโมสรแถวหน้าของลีกและทวีปยุโรป ทุกสิ่งทุกอย่างและทุกนโยบาย

เสี่ยหมี กำหนดไว้เป็นในทิศทางเดียวกันมาอย่างยาวนาน คือความสำเร็จ ไม่สามารถรอได้เกิน 1 ฤดูกาล ใครทำผลงานไม่เข้าตา พร้อมโดนปลดออกทันที ไม่ว่าจะอยู่กับทีมมานานแค่ไหนก็ตาม มันอาจจะดูโหดร้ายในเรื่องของความรู้สึก

แต่นโยบายนี้ของ เสี่ยหมี ก็ทำให้ เชลซี มีดีได้จนถึงทุกวันนี้ การพร้อมทุ่มเงินแบบไม่อั้น การพัฒนาระบบเยาวชน พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับนักเตะและทีมงาน รวมไปถึงแฟนบอล ก็ทำให้ เชลซี กลายเป็นทีมแถวหน้าของลีกอังกฤษได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

จนทุกวันนี้ สามารถขายตัวนักเตะ จนงบดุลย์การซื้อ-ขายนักเตะ ไม่มีติดลบเป็นตัวแดงแล้ว การจัดการที่ยอดเยี่ยมและการดำเนินงานที่ฉับไว ก็เป็นความสำเร็จที่จับต้องได้แบบทันทีทันควัน แฟนบอลไม่ต้องรอกันนาน สโมสรไม่ต้องรอกันนาน เก็บกวาดแชมป์มาประดับตู้ได้แทบทุกปี แฟนบอลมีความสุข สปอนเซอร์เข้า ทีมเป็นที่รู้จักแพร่หลายไปทั่วโลก

เคสนี้เป็นตัวอย่างได้ชัดเจนว่า เจ้าของทีม มีส่วนต่อความสำเร็จขนาดไหน ต่อมาขอยกอีกหนึ่งตัวอย่าง ที่ทีมนี้ เกือบจะล้มละลายจากปลิงมะกัน แต่ก็เหมือนฟ้ามาโปรดเพราะได้เจ้าของทีมที่บริหารจัดการได้อย่างยอดเยี่ยม นั่นก็คือ ลิเวอร์พูล นั่นเอง

การเข้ามาเทคโอเวอร์แบบลุ้นกันจนนาทีสุดท้ายของ จอร์น เฮนรี่ ประธาน เฟนเวย์ สปอร์ตส กรุ๊ป ได้เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสร ลิเวอร์พูล ในปี 2553 ได้รีเซ็ทการบริหารทีมใหม่หมด

โดยเริ่มจากเคลียร์หนี้สินที่เจ้าของเก่าทิ้งเอาไว้ ใช้เงินอย่างเหมาะสม ค่อยๆ แก้ กันไปทีละจุดและวางแผนระยะสั้น และ ระยาวได้อย่างเหมาะสม จนสุดท้ายพวกเขาก็สามารถกล่อมกุนซือระดับโลกอย่าง เจอร์เก้น คล็อปป์ มาคุมทีมได้

หลังจากนั้นก็บริหารสโมสรจากขาดทุนจนมีกำไร ไปทุ่มซื้อนักเตะที่ใช่มาร่วมทีมได้ จนตอนนี้ พวกเขาได้แชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก, แชมป์ สโมสรโลก และ พรีเมียร์ลีก มาครองได้สำเร็จ สโมสรลิเวอร์พูล สามารถกลับมาทวงความยิ่งใหญ่ได้อีกครั้ง

แต่อย่างไรก็ตาม FSG ไม่ใช่เจ้าของทีมที่จะทุ่มซื้อนักเตะจนงบประมาณของสโมสรติดลบ เพราะนโยบายคือการให้สโมสรมีฐานการเงินที่มั่นคง ไม่ต้องไปกู้มาอีก จึงทำให้การเงินของทีมอาจจะขาดสภาพคล่อง ในการเสริมทัพ ต้องใช้อย่างคุ้มค่ามากที่สุดนั่นเอง

แต่เนื่องด้วยนโยบายนี้ แม้จะดูไม่หวือหวา แต่ก็ไม่เสี่ยง เพราะแฟนบอลลิเวอร์พูล คงไม่อยากให้สโมสรเป็นหนี้เป็นสินท่วมหัวจนเกือบโดนปรับตกชั้นเหมือนอดีตร้ายๆ ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามแม้ว่า หลังจาก FSG เข้ามาแล้วบริหารทีมได้อย่างยอดเยี่ยม

แต่เมื่อช่วงต้นปี 2564 มีข่าวหลายสโมสรในพรีเมียร์ลีก สนใจไปร่วม รายการซูเปอร์ลีก ซึ่ง ลิเวอร์พูล ก็ตกเป็นข่าวว่า เป็นหนึ่งในสโมสรที่สนใจจะร่วมรายการนี้ ทำให้โดนแฟนบอลออกมาประท้วงพอสมควร จึงทำให้ความเลื่อมใสถูกลดลงไปบ้าง

แต่ความจริงแล้ว ก็มีหลายสโมสรอย่างที่รู้กันอยู่ว่ามีหลายทีม ไม่ใช่แค่ หงส์แดง ทีมเดียว มาในส่วนของเจ้าของทีมที่เป็นตัวอย่างแห่งความล้มเหลว

เจ้าของสโมสร พาทีมล้มเหลวก็มี

โดยยกตัวอย่างแบบเห็นภาพชัดเจนกับสองสโมสร ที่แฟนบอลแทบจะสาปส่งให้ประธานสโมสรที่น่ารักของพวกเขา ออกจากตำแหน่ง ขายให้คนอื่นไปเสีย คล้ายกับที่ประชาชนประเทศหนึ่ง ต้องการให้ผู้นำของพวกเขา ลาออกไปซะ ไม่เว้นแต่ละวัน

สโมสรนั้นก็คือ อาร์เซนอล โดยมีเจ้าของทีมนามว่า สแตน โครเอนเก้ มหาเศรษฐีชาวสหรัฐอเมริกา ที่ทยอยกว้านซื้อหุ้นจนกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของสโมสรและกลายเป็นประธานสโมสรในที่สุด ซึ่งตอนแรกแฟนๆ และผู้ที่ขายหุ้นบางส่วน

หวังว่า ชายคนนี้ จะทำให้ทีมยิ่งใหญ่มากขึ้นกว่าเดิม แต่ทว่าจากวันนั้นจนถึงวันนี้ มีแต่สาละวันเตี้ยๆ ลง โดยเฉพาะยุคนี้ จากทีมที่มีโอกาสลุ้นแชมป์ลีก กลายเป็นทีมกลางตารางไปเสียแล้ว

เพราะนโยบายของประธานรายนี้ คือไม่ได้ซื้อสโมสรมาเพื่อเป็นแชมป์ เรียกว่าหน้าสั่นกันไปทั้งบาง แม้ปัจจุบันจะยกให้ลูกชาย จอร์จ โครเอนเก้ มาดูแลทีมแทน โดยก็มีการปรับเปลี่ยนของสร้างของบอร์ดบริหารหลายอย่าง และก็ให้งบช็อปปิ้งนักเตะมากขึ้น

แต่เนื่องจากนโยบายของทีม ไม่มีแบบแผนที่ชัดเจนในทุกด้าน ไม่ว่าจะตำแหน่งแต่ละตำแหน่ง ที่ต้องมาปรับจูน มาทำความเข้าใจกันใหม่ เนื่องจากไม่ค่อยมีประสบการณ์ แถมการเสริมทัพนักเตะในช่วงหลัง ยังถือว่าล้มเหลวอีกด้วย

สุดท้ายแล้วผลงานในสนามก็แย่ไปด้วย สิ่งที่ควรทำไม่ทำ สิ่งที่ไม่น่าทำ พวกเขาทำ นี่แหละ ประธานสโมสรของอาร์เซนอล และอีกทีมที่ปิดท้ายและมองภาพได้ชัดเจนที่สุดทีมนึง ว่าการมีเจ้าของทีมที่ไม่ได้รักสโมสรจริงๆ ไม่ได้หวังให้ทีมประสบความสำเร็จเลย ขอแค่ให้ได้กำไร อยู่บนลีกสูงสุดก็พอ

นั่นก็คือ สโมสรนิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด ที่มี ไมค์ แอชลี่ย์ เจ้าของบริษัทสปอร์ตไดเร็ค เป็นประธานสโมสร โดยวีรกรรมมีแทบทุกซีซั่น ทั้งการ เปลี่ยนชื่อสนามเหย้า เซนต์ เจมส์ พาร์ค ให้กลายเป็น สปอร์ต ไดเร็คท์ อารีน่า

แต่ได้เปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเดิม เพราะโดนกระแสด่าเละเทะ การงกงบประมาณในการเสริมทัพ มีให้เฮ้ดโค้ชใช้แบบจำกัดจำเขี่ย อยากได้ก็ต้องขายไปก่อน การบริหารที่หวังเอาแต่ผลกำไรจนทำให้ทีมตกชั้นไปช่วงหนึ่ง แล้วตอนแรกเหมือนจะดี

เพราะได้แต่งตั้ง ราฟาเอล เบนิเตซ ที่แม้จะช่วยให้ทีมรอดตกชั้นไม่ได้ แต่ก็สามารถพาทีมเลื่อนขึ้นชั้นมาได้อย่างรวดเร็ว ด้วยนักเตะที่มีอยู่ในทีมแบบตามมีตามเกิด แต่สุดท้าย ราฟา ก็อยู่ไม่ไหว เพราะไม่ได้งบเสริมทัพตามที่ต้องการ

แล้วไปแต่งตั้ง สตีฟ บรู๊ซ กุนซือหัวโบราณ ที่ค่าจ้างสุดถูก มาคุมทีมด้วยผลงานที่ขอแค่ไม่เป็นตกชั้นเป็นพอ แล้วพอจะให้งบเสริมทัพ กลายเป็นว่า ทุ่มซื้อจริงๆ แต่ก็ได้นักเตะที่เกรดไม่ถึงขั้น กรณีนี้คล้ายกับ อาร์เซนอล เหมือนกัน

โดยสิ่งที่ ไมค์ แอชลี่ย์ ทำกับ สาลิกาดง ยังมีอีกเยอะ ซึ่งจะให้เล่าก็คงจะเล่าไม่หมด แต่เขาได้เปลี่ยนจากทีมที่มีชื่อเสียง ที่พร้อมจะก้าวไปสู้แสง ให้กลายเป็นทีมธรรมดาทีมนึงไปเสียแล้ว แฟนบอลได้แต่หวังว่าจะมีเจ้าของทีมที่มีใจรักจริงๆ เข้ามาเทคโอเวอร์และบริหารให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งก็คงจะได้แต่ภาวนากันไปก่อน

นี่คือตัวอย่างแบบเห็นภาพกับการมีเจ้าของทีม ที่รักสโมสรและพร้อมเข้ามาบริหารทำทุกอย่างเพื่อให้ทีมประสบความสำเร็จ กับ เจ้าของทีม ที่ขอแค่กำไร จะเป็นจะตายอย่างไรก็ช่างมัน นึ่จึงเป็นคำตอบที่ดีเลยว่า

เจ้าของทีม มีส่วนต่อความสำเร็จของทีมอย่างมากที่สุด เพราะฟุตบอลไม่ใช่แค่เรื่องในสนามเพียงอย่างเดียวเท่านั้น หากแต่ขาดการบริหารการจัดการที่ดี แค่จุดออกสตาร์ทยังแย่ แล้วมันจะไปสู้กับทีมอื่นที่เพรียบพร้อมกว่าได้อย่างไร

Posted in บทความฟุตบอล


Leave a Comment:

Your email address will not be published. Required fields are marked *