- 0
เทคโอเวอร์สโมสรฟุตบอล ส่งผลดี-ร้าย อย่างไร
วงการฟุตบอลได้รับความนิยมมากขึ้นทุกวัน แม้ปัจจุบันจะมีการสะดุดอย่างหนัก จากการระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ทำให้การเงินของสโมสรฟุตบอลต่างๆ ฝืดเคืองอย่างหนัก แต่อย่างไรก็ตาม กีฬาชนิดนี้ ยังถือว่าน่าสนใจไม่เสื่อมคลายและยังทำรายได้มหาศาล ได้ผลกำไรอย่างงดงาม ซึ่งทำให้ดึงดูดนักลงทุนเจ้าใหญ่หรือผู้ที่มีใจรักกีฬาฟุตบอลอย่างจริงจัง เข้ามา เทคโอเวอร์สโมสรฟุตบอล ที่พวกเขาต้องการจะเป็นเจ้าของ
โดยวันนี้ทีมงาน วิเคราะห์บอล UFA จะมาพูดถึง การเทคโอเวอร์สโมสรฟุตบอล ว่ามีข้อดี-ข้อเสีย อย่างไรบ้างกันครับ
การ เทคโอเวอร์สโมสรฟุตบอล ส่งผลดี-ร้าย อย่างไร
หากเจ้าของสโมสรดี สโมสรก็ดีตาม หากเจ้าของสโมสรแย่ สโมสรก็แย่ตาม มันตรงตัวตามนั้นเลย ซึ่งการเทคโอเวอร์สโมสร มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่ส่งผลกระทบอย่างมากของทั้งสโมสร
โดยขอพูดถึงข้อดีกันก่อน อันดับแรกเลย สำหรับเจ้าของใหม่ที่ต้องการจะเทคโอเวอร์สโมสรต่างๆ นั้นมีเงินทุนที่มั่นคง แน่นอน ปลอดภัย เหมือนกับ ufabet เวปพนันออนไลน์ ที่ชัวร์มากที่สุด ให้ราคาดีที่สุดและพร้อมจ่ายไม่อั้น (ขออนุญาตขายของ)
เข้าเรื่องกันต่อ ข้อดี หากเจ้าของใหม่ที่ มีการเงินที่มั่นคง ตั้งใจมาซื้อด้วยใจรักกีฬาฟุตบอลและพร้อมทุ่มเทพัฒนาให้สโมสรนั้นๆ ก้าวไปสู่จุดที่ดีขึ้น มันก็ส่งผลดีให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวของอย่างแน่นอน
ยกตัวอย่าง ตำนานการเทคโอเวอร์ของ “เสี่ยหมี” โรมัน อับราโมวิช ที่เข้ามาเทคโอเวอร์สโมสรเชลซี เมื่อปี 2003 พร้อมทุ่มเม็ดเงินมหาศาลในการขับเคลื่อนสโมสรให้ก้าวหน้า ทั้งการเสริมทัพผู้เล่น ระดับท็อป รื้อระบบต่างภายในสโมสร พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งหมด จนทำให้สโมสรเชลซี กลายเป็นทีมเบอร์ต้นๆ ของโลกไปแล้ว
ทั้งการคว้าแชมป์อย่างมากมาย ยกระดับทีมเป็นทีมลุ้นแชมป์ลีกแทบทุกปี รวมไปถึง การคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก ได้สองสมัย สิ่งนี้ก็การันตีได้แล้วว่า การเทคโอเวอร์สโมสรที่ดีเป็นอย่างไร
หรือถ้ายังไม่ชัดอีก ก็ต้องเป็น ชีค มานซูร์ บิน ซาเยด อัล นาห์ยาน เจ้าของสโมสรแมนเชสเตอร์ ซิตี้ ที่แต่ก่อนหน้าเป็นทีมในซอกหลืบ อยู่ใต้ร่มเงาของ โคตรทีมเพื่อนบ้านอย่าง แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งช่วงแรกยังโดนถากถางเย้ยหยันว่าเป็น เพื่อนบ้านหน้ารำคาญ
แต่ปัจจุบัน แมนเชสเตอร์ ซิตี้ ยกระดับเป็นทีมเต็งแชมป์พรีเมียร์ลีก แทบทุกปี การเล่นอะไรต่างๆ ก็เหนือกว่าทีมร่วมลีกพอสมควร เรียกว่าไปแบบไม่ทิ้งฝุ่นเลยทีเดียว เห็นได้ชัดว่าเม็ดเงินถ้ามาทุ่มถูกที่ถูกทาง
รวมถึงเจ้าของสโมสรเอง มีความตั้งใจจริงในการจะสร้างทีม มันก็ส่งผลดีให้กับสโมสรอย่างมหาศาลและผลพลอยได้คือแฟนบอลของทีมนั้นๆ ได้ลืมตาอ้าปาก มีความสุขในการรับชม รวมถึงสโมสรยิ่งประสบความสำเร็จ ก็ยิ่งได้รับความสนใจมากขึ้น มีแฟนบอลมากขึ้น
บริษัทต่างๆ อยากจะสปอนเซอร์ให้กับสโมสร ส่งผลให้การเงินแข็งแกร่งขึ้นไปอีกขั้น สโมสรมีรายได้มากขึ้น มั่นคงและเพิ่มฐานตัวเองมากขึ้นตามไปด้วย มาต่อกันที่ผลร้ายของการเทคโอเวอร์สโมสร อันนี้เรียนตามตรงว่า มีเยอะกว่าเคสดีๆ อย่างมาก
ยกตัวอย่าง บรรดาทีมในลีกไชนีส ซูเปอร์ลีก ที่เรียกว่ารวยจริงหรือเปล่าก็ไม่ทราบได้ ถึงรวยจริง แต่ก็ไม่ได้รักสโมสรจริงๆ อยู่ดีๆ ก็ยุบทิ้งไปดื้อๆ ก็มี หรือจะไทยลีก ที่เคยมีกรณีนี้ ที่เจ้าของสโมสรต้องการลดภาระค่าใช้จ่าย อยู่ดีๆ ก็ยุบทีมดื้อๆ ไปเลยก็มี
เลยต้องมีการแก้กฏกันใหม่ เพื่อกันท่าปัญหาแบบนี้ หากลองย้อนไปตอนสิบปีที่แล้ว มีหลายทีมเลยทีเดียว แต่ไม่ขอลงลึกมากไปกว่านี้ เพราะเป็นข้อมูลที่หาได้ง่ายอย่างมากเลยครับ
หรือเอาทีมคุ้นหู ก็ต้อง เป็น บาเลนเซีย ที่ถังแตกแล้วถังแตกอีก แม้จะได้เจ้าของใหม่อย่าง ปีเตอร์ ลิม นักธุรกิจชาวสิงคโปร์ แต่ก็ออกแนวไม่ได้รักสโมสรอย่างแท้จริง ไม่พร้อมทุ่มหรือหาทางที่ทำให้การเงินของสโมสรดีขึ้น จนฤดูกาลที่แล้วต้องขายนักเตะเกือบหมดทีม ดีที่ไม่ตกชั้นเอา
หรือแม้แต่ อินเตอร์ มิลาน แม้จะเพิ่งคว้าแชมป์มาหมาดๆ แต่เนื่องจากเจ้าของสโมสร อย่าง ซูหนิง กรุ๊ป โดนพิษโควิด-19 และปัญหาจากกฏหมายใหม่ของประเทศจีน ทำให้พวกเขามีปัญหาการเงินอย่างหนัก จนต้องมีการปรับปรุงการเงินหลายอย่าง
ซึ่งอีกไม่นานเชื่อว่า นักเตะดังๆ ของอินเตอร์ มิลาน ชุดปัจจุบัน จะถูกเทขายอย่างแน่นอน ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุที่ช่วยไม่ได้เลยทีเดียว หรือจะทีมที่แฟนบอลคุ้นหู ในศึกพรีเมียร์ลีก อย่าง นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด
ซึ่งเจ้าของสโมสร คือคนที่แฟนบอล สาลิดง เกลียดขี้หน้า อยากจะล่อซักตุ้บ นั่นก็คือ ไมค์ แอชลีย์ เจ้าของบริษัทสปอร์ตไดเร็ค ตัวแสบ ที่ทำให้ นิวคาสเซิ่ล จากทีมเคยดัง กลายเป็นทีมกลางตารางไปเสียอย่างนั้น
ทั้งการจัดการที่เหลวแหลก ที่เน้นของถูกเข้าว่า หรือการทุ่มเงินแบบตำพริกละลายแม่น้ำในการซื้อนักเตะแพงเกินความจำเป็น แต่ผลงานไม่เอาอ่าว เป็นต้น ซึ่งแฟนบอลก็ทำได้เพียงสาปส่งได้แค่นั้นเอง ก็ต้องทนกันต่อไป
หรือจะเป็น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่เจ้าของอย่างตระกูลเกลเซอร์ โกยเงินจากสโมสรไปนักต่อนัก แม้ภายนอกหลายท่านจะเห็นว่า แมนฯ ยู ยังคงร่ำรวยแบบไม่สร่าง แต่ปัญหาภายใน มีอย่างมากมาย ซึ่งเห็นได้ชัดจากการที่แฟนบอล บุกไปประท้วงลุยไปถึงในสนาม ในศึกแดงเดือด เมื่อต้นปีที่ผ่านมา จนตอนนี้ถึงเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอะไรต่างๆ ได้ดีขึ้น
และสุดท้าย อาร์เซนอล ที่เจ้าของโคตรรวยอย่าง สแตน โคเอนเก้ พยายามอย่างมากที่จะเข้ามาเทคโอเวอร์ หยอดคำหวานให้ความเชื่อมั่นแก่ผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ จนปัจจุบัน พี่แกครองแบบเบ็ดเสร็จและก็เคยออกมากล่าวประโยคคลาสสิค ที่ทำให้แฟนบอลหน้าสั่นว่า ผมไม่ได้ซื้ออาร์เซนอลเพื่อเป็นแชมป์ เป็นอย่างไรล่ะครับ แค่นี้ก็ไม่ต้องสาธยายให้มากความแล้ว
ท้ายที่สุด การเทคโอเวอร์มันมีดีข้อเสียประมาณนี้ คนรักจริง พร้อมจริง มันก็ย่อมรักษาและทำให้สิ่งที่รัก ดูดีขึ้นไป พัฒนาขึ้นไป หรือ คนที่รักจริง แต่พร้อมบ้างไม่พร้อมบ้าง เมื่อเจอสถานการณ์ที่ยากจะรับมือไหว มันก็ไปไม่รอด
แต่ไอ้พวกที่ไม่รักจริง เข้ามาหวังผลประโยชน์กอบโกยเข้ากระเป๋าโดยไม่สนใจอะไรเลย ว่าอะไรจะเป็นอย่างไร จะมีผลเสียแค่ไหน ขอให้ข้าได้เสพย์สุขต่อไปบนความทุกข์คนอื่น คนพวกนี้เราควรเรียกมันว่าอย่างไรดี ก็แล้วแต่ฐานที่ทุกท่านเข้าใจ