ผู้จัดการทีม กับ เฮดโค้ช

สำหรับฟุตบอลแล้ว ไม่ใช่แค่นักเตะในสนามเท่านั้น ยังมีส่วนต่างๆ หน่วยต่างๆ ที่คอยดูและควบคุม ความเป็นสโมสรหรือทีมชาติ ให้ดำเนินการได้ทุกเรื่อง แต่หลายทีมนั้น ไม่ได้ใช้ตำแหน่งเดียวกันหมด บางทีก็ใช้ ผู้จัดการทีม ในการคุมทีมข้างสนาม บางทีมก็ใช้ เฮดโค้ช ทำให้หลายคน น่าจะยังสบสนหน้าที่ ระหว่าง ผู้จัดการทีม กับ เฮดโค้ช

โดยวันนี้ ทีมงาน วิเคราะห์บอล UFA จะอธิบายความแตกต่างของ ผู้จัดการทีม กับ เฮดโค้ช ว่าทั้งสองตำแหน่งนั้น มีความเหมือน และแตกต่างกันอย่างไร

ผู้จัดการทีม กับ เฮดโค้ช ต่างกันยังไง

หากนับในระดับสโมสร ตำแหน่งผู้จัดการทีม ในยุคปัจจุบัน ถือว่าไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะยุคก่อน โดยเฉพาะลีกอังกฤษ ตำแหน่งผู้จัดการทีม นอกจากจะวางแผน การวางแทคติกส์ คุมทีมชุดใหญ่ทำการแข่งขันแล้ว

ยังมีส่วนสำคัญ ในการเลือกนักเตะเข้าสู่ทีม หรือปล่อยออกจากทีม มีอำนาจเบ็ดเสร็จ เหมือนอย่าง อาร์แซน เวงเกอร์ อดีตกุนซือของ “ไอ้ปืนใหญ่” อาร์เซนอล ที่เรียกได้ว่า เขาจัดการอะไรหลายอย่าง มากกว่าเรื่องการคุมทีม ด้วยซ้ำ

ทั้งการจัดหาผู้เล่น วางระบบ และมีสิทธิ์ตัดสินใจ ในการขายผู้เล่น และเสริมทัพผู้เล่นตัวใหม่ เข้ามาสู่ทีม แต่ตำแหน่งของ ผู้จัดการทีม ก็ต้องแล้วแต่สโมสรว่า จะมีการให้งาน ให้สิทธิ์แบบไหนกันบ้าง ซึ่งก็เป็นวัฒนธรรม อย่างหนึ่งเหมือนกัน

บางทีม ตำแหน่งผู้จัดการทีม ก็ไม่มีแล้ว โดยแบ่งเป็นตำแหน่ง ประธานเทคนิค และตำแหน่ง ผู้อำนวยการสโมสร ซึ่งตำแหน่งนี้แต่ละสโมสร ก็จะได้รับบทบาทต่างกันไป

อย่างเช่น ฟาบิโอ ปาราติชี่ ที่ก้าวเข้ามาเป็น ผู้อำนวยการสโมสร แต่มีบทบาท ทั้งการเลือกซื้อผู้เล่น และวางแผนว่าจะทำอย่างไร ให้ สเปอร์ส สามารถคว้าแชมป์ให้ได้ ล่าสุดก็เป็นเจ้าของไอเดีย ในการเลือก นูโน่ เอสปิริโต้ ซานโต เข้ามาคุมทัพ

เช่นเดียวกันกับ จอห์น เมอร์ทัฟ ที่จะมีบทบาทสำคัญ ในการเจรจาเสริมทัพนักเตะ และสั่งการให้แมวมอง เร่งหานักเตะฝีเท้าดี เข้าสู่ทีม แต่ในส่วน แผนการเล่น หรืออะไรต่างๆ ในสนาม เขาจะไม่มีส่วนเกี่ยวของ

ในส่วนของตำแหน่ง ประธานเทคนิค ส่วนมากจะเป็นตำแหน่ง ที่วางแผนและจัดการ ช่วยเฮ้ดโค้ช เรื่องแทคติกส์ พร้อมปรึกษา เพื่อช่วยให้ทีม มีโอกาสประสบความสำเร็จ ให้ได้มากที่สุด

ในส่วนของ เฮ้ดโค้ช คือตำแหน่งปัจจุบัน ที่ได้รับความนิยม และหลายสโมสรต่างใช้ระบบนี้ โดย เฮ้ดโค้ช แปลตรงตัว คือหัวหน้าผู้ฝึกสอน ที่รับหน้าที่เบ็ดเสร็จ เกี่ยวกับการเล่นฟุตบอลในสนาม

เป็นกุนซือของทีม นำทีมลงฝึกซ้อม พร้อมวางแผนการเล่น วางแทคติกส์ เป็นคนสั่งการลูกทีม อยู่ที่ข้างสนาม มีสิทธิ์ตัดสินใจ แบบเบ็ดเสร็จ ว่าจะส่งให้ใครลงสนาม จะดันใครจาก ชุดเยาวชน มาขึ้นชุดใหญ่ รวมถึงมีสิทธิ์ร้องขอ นักเตะหรือสต๊าฟโค้ช เข้ามาสู่ทีมได้อีกด้วย

โดย เฮดโค้ช ก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมด กับผลงานในสนาม ส่วนเรื่องนอกสนามนั้น ทำได้แค่เพียงเสนอความเห็น หรือความต้องการต่างๆ แล้วส่งต่อไปยังหน้าที่อื่น เพื่อรับผิดชอบ ตามที่แต่ละคนได้รับหน้าที่

ส่วนตำแหน่ง สต๊าฟโค้ช มีหน้าที่หลักๆ คือช่วยเรื่องฟุตบอลล้วนๆ ทั้งวางแผน หรือแท็คติกส์ รวมถึงคอยดูแลนักเตะ ดูการฝึกซ้อมของทีม เพื่อให้ทีมได้รับชัยชนะนั่นเอง

ซึ่งตำแหน่งเฮ้ดโค้ชระดับสโมสร ก็จะเหมือนกับระดับทีมชาติ แต่ทีมชาติ เฮ้ดโค้ช จะต้องศึกษานักเตะในชาติ รวมถึงไปดูฟอร์ม ทำงานร่วมกับทีมงาน ในการไปดูฟอร์มในสนาม ดูฟอร์มนักเตะของชาติ ว่ารายไหนดีพอ ที่จะเข้ามาติดทีมชาติได้

รวมถึงทำงานร่วมกับ ฝ่ายเทคนิค ในการวางแผน และรูปแบบการเล่นอีกด้วย นอกนั้นก็จะคล้ายกัน เฮ้ดโค้ช มีหน้าที่พาลูกทีมลงซ้อม วางแผน วางแท็คติกส์ คุมทีมข้างสนาม คอยสั่งการลูกทีม เหมือนกัน

แต่ในส่วนประธานเทคนิคร ะหว่างสโมสร และกับทีมชาติ ก็จะคล้ายกันอยู่บ้าง คือมีการวางแผน และพูดคุยร่วมกับเฮ้ดโค้ช เรื่องแผนการเล่น ระบบการเล่น และอนาคตของทีม ว่าจะเป็นอย่างไร

จะมีเปลี่ยนแปลง รูปแบบการเล่น หรือมีแผนงานอื่นๆ ไหม อนาคตจะวางระบบต่อไปอย่างไร ก็จะมีการทำงานร่วมกันในจุดนี้

สุดท้าย ตำแหน่งผู้จัดการทีมกับเฮ้ดโค้ช ก็มีความแตกต่างกันพอสมควร ตำแหน่งผู้จัดการทีม ในอดีตต้องรับผิดชอบมากกว่า ส่วนเฮ้ดโค้ชก็ตรงตัว แค่รับผิดชอบ เรื่องในสนามล้วนๆ เพื่อทำผลงานของทีมให้ดีที่สุด โดยไม่ต้องสนใจเรื่องอื่น

แต่ผู้จัดการทีมของทีมชาติไทย น่าจะแปลกประหลาดที่สุดในโลกแล้ว เพราะขอแค่เป็นใครก็ได้ แต่มีเงินถุงเงินถัง พร้อมเปย์ไม่อั้น พร้อมจัดการเรื่องความสะดวกสบาย อาหารการกินให้นักเตะทีมชาติ ก็นับว่าเหมาะสมเป็นตำแหน่งผู้จัดการทีมได้แล้ว

Posted in บทความฟุตบอล


Leave a Comment:

Your email address will not be published. Required fields are marked *